วัคซีน

Posted on กุมภาพันธ์ 25, 2021ปิดความเห็น บน วัคซีน

วัคซีน ช่วงเวลาที่ประเทศไทยรอคอย คงหนีไม่พ้นวัคซีน โควิด เพราะเราเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ได้รับวัคซีนช้าสุด เราต้องยอมรับว่าวัคซีนมีผลต่อจิตใจของคนไทย ยิ่งได้ไวเท่าไรยิ่งดี ยิ่งได้ไวเท่าไรโอกาสที่เศรษฐกิจที่ซบเซา จะกลับมาฟื้นตัว และผู้คนกล้าที่จะออกมาจับจ่ายซื้อของ รวมถึงเดินทางท่องเที่ยวก็มีมากขึ้นด้วย วันนี้เรามาดูข้อเปรียบเทียบวัคซีนแต่ละตัว ข้อดีและข้อเสีย และประสิทธิภาพในวัคซีนแต่ละตัว รวมถึงใครบ้างที่ควรฉีดและไม่ควรฉีด

การเปรียบเทียบเราจะดูข้อมูลจากภาควิชาระบาดวิทยาคลินิกและชีวสถิติ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีรายละเอียดคร่าวๆดังนี้ วัคซีนที่มีในปัจจุบันได้แก่ของ ชิโนแวค (Sinovac) วัคซีนมอดเดอน่า (Moderna). วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) วัคซีนแอสตร้า (Astra/Oxford) มีข้อสรุปดังนี้ ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกัน Covid-19 ที่มีอาการมีความแตกต่างกันในแต่ละผู้ผลิต โดยวัคซีนของ Moderna มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามมาด้วย Pfizer ส่วนประสิทธิภาพของ Sinovac และ Astra/Oxford ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก ถ้าสามารถให้วัคซีนแก่ทุกๆ 1,000 คนด้วย วัคซีนของ Moderna , Pfizer , Sinovac และ Astra/Oxford จะสามารถป้องกันการติดเชื้อ Covid-19 ที่มีอาการได้ 12-17, 8-10,10 และ 12 คนตามลำดับ ข้อมูลในกลุ่มหญิงตั้งครรถ์ เด็ก และผู้สูงอายุยังไม่มีเพียงพอ ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุ่นหรือ ต่อต้านวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ อ่อนเพลีย ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และมีไข้ ส่วนผลข้างเคียงรุนแรงพบเพียง0.5%ในวัคซีนPfizer(อาการบาดเจ็บของไหล่ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนต่อม น้ําเหลืองที่รักแรโตหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะและอาการชาที่ขา)และ0.65%ในวัคซีนAstra/Oxford(รวมอาการไขสันหลังอักเสบ) และ ผลสรุปนี้มาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ระดับดี (1B) ที่ทําในระยะสั้น (2 เดือน) ยกเว้นข้อมูลวัคซีนของ Sinovac มาจากข้อมูล การรายงานอย่างไม่เป็นทางการ (ไม่ได้ตีพิมพ์) ทําให้ไม่ สามารถวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือได้ 

วัคซีน บุคคลที่ควรฉีด

– ประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยรุนแรงและเสียชีวิตหากติดเชื้อ ได้แก่ ประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง (เป้าหมายเพื่อลดอัตราการป่วยและตาย)

– บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชนและเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วยในงาน (เป้าหมายเพื่อปกป้องระบบสุขภาพของประเทศ)

– ประชาชนทั่วไป แรงงานในภาคธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว อุตสาหกรรม (เป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ)

ในการฉีดวัคซีนในระยะที่ 1 เพื่อลดการป่วยรุนแรง และเพื่อรักษาสุขภาพของประเทศ คือ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน และ บุคคลที่มีโรคประจำตัว โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี เป็นต้น

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคไตเรื้อรังระยะที่ 5 ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต
  • โรคหลอดเลือกสมอง
  • โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ้วน ที่มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

 นี้เป็นเพียงข้อมูลคร่าวๆที่เรานำมาฝาก ให้ผู้อ่านได้ลองศึกษา เปรียบเทียบ วัคซีนแต่ละชนิด และลองดูว่าเราเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสียงหรือไม่ และอย่าลืมป้องกัน และดูแลตัวเอง ใส่แมส  ล้างมือบ่อยๆ รวมถึงเว้นระยะห่างจากผู้อื่นด้วยนะครับ 

โลมา ที่ใกล้สูญพันธุ์

ขอบคุณเนื้อหาดีดีจาก casinocafe88 โปรโมชั่น ฝาก10รับ100

o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o o